8/11/55

วิธีการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ

วิธีสอนภาษาแบบกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) 
          วิธีการ สอนแบบนี้มีแนวคิดที่ต่างไปจากแนวคิดอื่น คือแนวการสอนแบบนี้จะยึดผู้เรียนเป็นหลัก เน้นการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ผู้เรียนแต่ละคนร่วมกิจกรรม ส่วนผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านภาษาเท่านั้น ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เน้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สิ่งที่นำมาเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย การฝึกให้ผู้เรียนใช้โครงสร้างประโยค คำศัพท์และเสียง ตามวิธีการสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์ ผู้เรียนรู้ภาษาโดยไม่ต้องต่อต้าน ผู้เรียนและผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันตลอดเวลา ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอน และผู้เรียนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การประเมินผลการเรียนนั้นจะเป็นการทดสอบแบบบูรณาการโดยให้ผู้เรียนประเมินตนเอง ดูจากการเรียนรู้ของตนเอง และความก้าวหน้าของตน ถ้าผู้เรียนมีที่ผิด ผู้สอนจะพยายามแก้ไข โดยไม่ใช้วิธีคุกคาม ผู้สอนอาจจะแก้ไขสิ่งที่ผิด ๆ โดยให้ฝึกทำซ้ำ ๆ กัน

10 วิธีสอนตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Approach) 

           จากข้อเท็จจริงพบว่า ถึงแม้ผู้เรียน จะเรียนรู้โครงสร้างของภาษามาแล้วเป็นอย่างดี แต่ก็ยังไม่สามารถพูดได้หรือสื่อสารได้ดีนัก ด้วยเหตุผลนี้นักภาษาศาสตร์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนภาษาต่างประเทศ ได้เสนอแนวการสอนแบบใหม่ คือ การสอนเพื่อการสื่อสาร โดยมีความเชื่อว่าภาษาไม่ได้เป็นเพียงระบบไวยากรณ์ที่ประกอบด้วยเสียง ศัพท์ และโครงสร้างเท่านั้น แต่ภาษาคือ ระบบที่ใช้ในการสื่อสาร ดังนั้นการสอนจึงควรให้ผู้เรียนสามารถนำภาษาไปใช้ในการสื่อสารได้ ไม่ควรสอนให้รู้เฉพาะรูปแบบหรือโครงสร้างของภาษาเท่านั้น ทั้งนี้เพราะเราใช้ภาษาเป็นสื่อเพื่อทำหน้าที่แลกเปลี่ยนกัน และจะต้องใช้ภาให้เหมาะสมตามสภาพสังคมด้วย ทักษะการสอน ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
          10.1 ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน 
          ในการดำเนินการสอนนั้น ก่อนที่ครูจะสอนเรื่องต่อไป ครูควร จะได้เร้าความสนใจของผู้เรียนก่อน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเตรียมพร้อมที่จะเรียนในเรื่องต่อไป การนำเข้าสู่บทเรียนมีวิธีการการต่าง ๆกัน เช่น วิธีสนทนาซักถาม การทบทวนบทเรียนเดิมให้สัมพันธ์กับบทเรียนใหม่ การเล่านิทาน การทายปัญหา การสร้างสถานการณ์จริงหรือจำลอง การใช้สื่อต่าง ๆ เช่น รูปภาพหรือของจริง การร้องเพลง เป็นต้น รวมทั้งมีข้อแม้ว่าคำศัพท์และรูปประโยคที่นำเสนอนั้น ควรเป็นคำศัพท์และรูปประโยคที่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน และผู้เรียนเคยเรียนมาบ้างแล้ว เพื่อช่วยให้สามารถเข้าใจเรื่องที่ฟังได้เร็ว จากนั้นผู้สอนตรวจสอบดูว่าผู้เรียนเข้าใจเรื่องที่ฟังหรือไม้ด้วย การสนทนาโต้ตอบคำถามต่าง ๆ ถ้าผู้เรียนตอบได้ก็จะได้ไม่ต้องเสียเวลานานเกินไปสามารถดำเนินการสอนในเรื่องต่อไปได้เลย ถ้าผู้เรียนตอบได้บ้างไม่ได้บ้าง ผู้สอนจำเป็นต้องเสนอขั้นนำ ให้ง่ายกว่าเดิมลงไปอีก
          10.2 ทักษะการตั้งคำถาม
          จัดเป็นทักษะที่สำคัญของการสอนภาษาต่างประเทศ เพราะผู้สอนและ ผู้เรียนจำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กัน ในการโต้ตอบ พูดคุย สื่อสารกันตลอดเวลา เพื่อให้มั่นใจว่ามีความเข้าใจตรงกัน คำถามที่ใช้ถามต้องกะทัดรัดไม่ยาวหรือซับซ้อนจนเกินไป ผู้เรียนสามารถโต้ตอบได้ตรงประเด็น คำถามที่ดีจะต้องเตรียมไว้ล่วงหน้า การถามอย่างเดียวไม่พอ ผู้สอนความสนใจฟังคำตอบของนักเรียน ถ้าเขาตอบไม่ถูก ผู้สอนควรจะใช้คำถามให้ง่ายขึ้น หรือช่วยแก้ไขข้อบกพร่อง
          10.3 ทักษะการยกตัวอย่าง 
          จะต้องยกตัวอย่างที่สามารถให้คำศัพท์ และโครงสร้างที่จะนำไปใช้ ในชีวิตประจำวันได้อย่างชัดเจน เพื่อให้เห็นถึงคุณค่าในเรื่องที่เรียน คำนึงถึงความถูกต้อง และความนิยมของเจ้าของภาษา มิได้คำนึงถึงความถูกต้องตามกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์เพียงอย่างเดียว
          10.4 ทักษะฝึกใช้ภาษา 
          ผู้สอนจะต้องเป็นผู้นำในการฝึก เช่น การเริ่มต้นจากการฝึกแบบควบคุม ให้ผู้เรียนได้จดจำรูปแบบของภาษาได้ เน้นความถูกต้องของภาษาเป็นหลัก ต่อจากนั้นจะมีการฝึกใช้การภาษาเพื่อการสื่อสาร ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างการเรียนรู้ภาษาในชั้นเรียน กับการนำภาษาไปใช้จริง โดยทั่วไปแล้วจะมีการให้ผู้เรียนลองใช้สถานการณ์ต่าง ๆ ด้วยตนเอง โดยผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้แนะแนวทางเท่านั้น การฝึกใช้ภาษาในลักษณะนี้จะช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนรู้ว่า ผู้เรียนเข้าใจภาษาได้มากน้อยเพียงใด
          10.ทักษะการสรุปบทเรียน 
          การสรุปบทเรียนเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งในการสอน เพราะครูจะ ได้ทราบว่าผู้เรียนสามารถรวบรวมความรู้ ความคิด ความเข้าใจถูกต้องหรือไม่ หลังจากเรียนจบแล้ว การสรุปบทเรียนสามารถทำได้ต่าง ๆ กัน เช่น ตั้งคำถามให้นักเรียนตอบ สรุปให้นักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมตามสถานการณ์ที่ครูสร้างขึ้น สรุปเขียนเป็นรายงาน กรอกแบบฟอร์มหรือให้นักเรียนร้องเพลง เป็นต้น
          10.6 ทักษะการใช้สื่อการเรียนการสอน 
          สื่อการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่จะช่วยให้การเรียนการ สอนดำเนินไปด้วยดี ครูจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม ปัจจุบันมีสื่อการเรียนการสอนหลายอย่าง ครูควรศึกษาให้ถ่องแท้ และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สื่อควรหาได้จากท้องถิ่น สามารถประดิษฐ์เอง ไม่แพง ใช้งานง่าย
          10.7 ทักษะแรงจูงใจ 
          ผู้เรียนจะเรียนได้ดีก็ต้องมีแรงจูงใจ แรงจูงใจจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ นักเรียนสามารถ ตอบคำถามหรือทำในสิ่งที่ยาก ๆ ได้สำเร็จในการทำงานตามที่ได้รับมอบหมายให้ทำ และเป็นที่ยอมรับของครู และเพื่อน ๆ เช่น การทำงานได้ดี ถูกต้อง สะอาดเรียบร้อย อาจจะใช้คำชม เป็นต้น หรือให้เห็นประโยชน์คุณค่าจากสิ่งที่ได้เรียนรู้ เช่น เรื่องแล้วสามารถนำสิ่งที่เรียนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง หรือการใช้สื่อการสอนที่สนใจเอง ก็สามารถทำให้เกิดแรงจูงใจได้
          10.8 ทักษะการเสริมกำลังใจ 
          การเสริมกำลังใจ เป็นสิ่งสำคัญ เช่นกันในเรื่องการเรียนการสอน ครูผู้สอนควรจะให้การเสริมกำลังใจขณะที่ผู้เรียนกำลังเรียนอยู่ด้วยการกล่าวคำชม หรือแสดงอาการชื่นชม ยกย่อง เพื่อสร้างความภูมิใจ กำลังใจ และแรงจูงใจตามมา อย่างไรก็ตามหากผู้เรียนทำไม่ถูกก็ความพูดให้กำลังใจในการพยายามทำให้ถูก ครูไม่ควรแสดงอาการว่าไม่พอใจอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ผู้เรียนขาดกำลังใจ ไม่อยากเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น