4/11/55

วิธีการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ

วิธีสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ

1 วิธีการสอนไวยากรณ์และการแปล (Grammar Translation) 

          เป็นวิธีการสอนที่ เน้นกฎไวยากรณ์และใช้การแปลเป็นสื่อให้นักเรียนเข้าใจบทเรียน ครูจะบอกและอธิบายกฎเกณฑ์ตลอดจนข้อยกเว้นต่าง ๆ นักเรียนจะต้องท่องจำกฎเกณฑ์ตลอดจนชื่อเฉพาะต่าง ๆ ทางไวยากรณ์ และทำแบบฝึกหัดที่สอดคล้องกับเกณฑ์ไวยากรณ์นั้น ๆ ในด้านการสอนคำศัพท์ ครูก็จะสอนครั้งละหลาย ๆ คำ โดยบอกคำแปลภาษาไทย แต่จะไม่ได้ฝึกให้นักเรียนนำคำศัพท์เหล่านั้นมาใช้ในรูปประโยค ต่าง ๆ จากนั้นก็จะให้นักเรียนจดลงในสมุดศัพท์เป็นคำ ๆ ไป บอกความหมายของคำศัพท์ และบางครั้งก็มีการเขียนคำอ่านไว้ด้วย ในการสอนครูจะเน้นทักษะการอ่าน และการเขียน และเวลาวัดผลก็จะเน้นความรู้ ความจำ คำศัพท์ กฎเกณฑ์ และความสามารถในการแปลเป็นหลัก วิธีการสอนแบบนี้ครูจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญมาก นักเรียนเป็นเพียงผู้รับฟัง

2 วิธีสอนแบบตรง (The Direct Method)

          เป็นวิธีการสอนที่เน้นทักษะการฟัง และพูดให้เกิดความเข้าใจ แล้วจึงฝึกทักษะการอ่านและการเขียน โดยมีความเชื่อว่า เมื่อนักเรียนสามารถฟังและพูดได้แล้ว ก็สามารถอ่านและเขียนได้ง่าย และเร็วขึ้น ดั่งนั้นบทเรียนส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยกิจกรรมที่เป็นบทสนทนา เปิดโอกาสให้ได้ใช้ภาษาเต็มที่ ครูจะมีหน้าที่คอยกระตุ้นให้นักเรียนได้พูดโต้ตอบ และสร้างสภาพแวดล้อมหรือใช้สื่อประสอบการสอนที่เอื้อต่อบรรยากาศการเรียนการสอน รูปแบบการจัดการเรียนแบบนี้จะไม่เน้นไวยากรณ์ หรือกฎเกณฑ์มากหนัก การสอนศัพท์ก็จะใช้การอธิบายคำศัพท์นั้น ๆ เป็นภาษาอังกฤษ โดยอาจจะใช้สื่อหรือของจริงมาประกอบ การวัดผลจึงเน้นที่การฟังและพูด เช่น การปฏิบัติตามคำสั่ง การสนทนาเป็นคู่ การเขียนตามคำบอก เป็นต้น

3 วิธีสอนแบบฟัง-พูด (The Audio–Lingual Method) 

           เป็นวิธีการสอนตามหลัก ภาษาศาสตร์ และวิธีสอนตามแนวโครงสร้าง เป็นการสอนตามหลักธรรมชาติ คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียน สอนครบองค์ประกอบลำดับจากง่ายไปหายาก ผู้เรียนจะต้องฝึกภาษาที่เรียนซ้ำ ๆ จนเกิดเป็นนิสัย สามารถพูดได้อย่างอัตโนมัติ ผู้สอนจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษาที่เรียนให้แก่ผู้เรียนในการเลียนแบบ ผู้เรียนเป็นผู้ลอกเลียบแบบ และปฏิบัติตามผู้สอนจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยาก โดยครูจะจัดนำคำศัพท์และประโยคมาสร้างเป็นรูปประโยคให้นักเรียนพูดตามตนซ้ำ ๆ กัน ในรูปแบบต่าง ๆ กัน เน้นการฝึกที่มุ่งเรื่องการฝึกรูปประโยคมากกว่าประโยชน์ ดั่งนั้นจึงเห็นได้ว่าการสอนตามวิธีนี้เป็นการสอนที่มิใช่เพื่อการสื่อความหมายในชีวิตจริงแต่เป็นเพียงการเรียนภาษาในห้องเรียนเท่านั้น

4 วิธีการสอนตามทฤษฏีการเรียนแบบความรู้ความเข้าใจ (The Cognitive Code Learning Theory) 

          วิธีการสอนแบบนี้ยึดแนวคิดที่ว่าภาษาเป็นระบบที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ ความเข้าใจ และการแสดงออก ทางภาษาขึ้นอยู่กับความเข้าใจ กฎเกณฑ์ เมื่อผู้เรียนมีความเข้าใจรูปแบบของภาษาและความหมายแล้ว ก็จะสามารถใช้ภาษาได้ การสอนจึงมุ่งฝึกทักษะทุกด้านตั้งแต่เริ่มสอน โดยไม่จำเป็นต้องฝึกฟังและพูดให้ดีก่อน แล้วจึงอ่านและเขียนตามวิธีสอนแบบฟัง-พูด (Audio – Lingual Method) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการที่แตกต่างของผู้เรียน ถ้าผู้เรียน ต้องการฝึกทักษะการอ่านมากกว่าทักษะอื่น ทักษะนี้ก็มาก่อนได้ เป็นการสอนที่สนับสนุนให้ผู้เรียนใช้ความคิด สติปัญญา และมีความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ ใช้ภาษาไทยช่วยอธิบาย เพื่อให้นักเรียนเข้าใจได้รวดเร็ว การสอนแบบนี้จะคล้ายกับวิธีสอนไวยากรณ์และการแปลตรงที่เน้นความเข้าใจและกฎเกณฑ์ไวยากรณ์ แต่ต่างกันที่ให้ความสำคัญของการฟัง-พูด การวัดและประเมินผลในด้านภาษาของนักเรียนนั้น คือ ความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาแต่ละขั้นตอน


5 วิธีสอนตามเอกัตภาพ (Individualized Instruction)
          จากวิวัฒนาการสอน ภาษาอังกฤษ จะเห็นว่า ผู้เรียนเริ่มมีบทบาทจากการเป็นผู้รับเพียงฝ่ายเดียวมาเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการสอนมากขึ้นเป็นลำดับ การสอนเปลี่ยนจากยึดครูเป็นศูนย์กลางมาเป็นยึดผู้เรียนเป็นหลัก ผู้สอนพยายามให้ผู้เรียนมีโอกาสศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละบุคคลให้ได้มากที่สุด โดยครูผู้สอนจะเตรียมสื่อการเรียนการสอนไว้ให้ การเรียนด้วยตนเองนั้นครูอาจจะเตรียมเอกสารแนะแนวทางซึ่งผู้สอนจะเฉลยคำตอบไว้ให้ หรือให้ผู้เรียนหาคำตอบได้ด้วยตนเอง บทเรียนแบบโปรแกรม ชุดการเรียนการสอนรายบุคคล คอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนโทรทัศน์ นอกจากนั้นอาจจะใช้สื่อการเรียนการสอนให้นักเรียนทดลองเรียนด้วยตนเอง เช่นการเรียนคำศัพท์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้เรียน เป็นต้น


วิธีสอนแบบการตอบสนองด้วยท่าทาง (The Total Physical Response Method) 
          แนวการสอนแบบนี้ ให้ความสำคัญต่อการฟังเพื่อความเข้าใจ เมื่อผู้ฟังเข้าใจเรื่องที่ฟังอยู่และสามารถปฏิบัติตามได้ก็จะช่วยให้จำได้ดี ในระยะแรกของการเรียนการสอน ผู้เรียนไม่ต้องพูด แต่เป็นเพียงพูฟังและทำตามผู้สอน ผู้สอนเป็นผู้กำกับพฤติกรรมของผู้เรียนทั้งหมด และเมื่อเรียนไปได้ระยะหนึ่ง และพร้อมที่จะพูดก็จะเป็นผู้ออกคำสั่งเอง แล้วเรียนอ่านและเขียนต่อไปภาษาที่นำมาใช้ในการสอนเน้นที่ภาษาพูด เรียนเรื่องโครงสร้างทางไวยากรณ์ และคำศัพท์มากกว่าด้านอื่น ๆ โดย อิงอยู่กับประโยคคำสั่ง ผู้เรียนจะเข้าใจความหมายได้อย่างชัดเจนจากการแสดงท่าทางและผู้สอนทราบได้ทันทีว่าผู้เรียนเข้าใจหรือไม่ จากกการสังเกตการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้เรียน ดั่งนั่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการสอบแบบนี้ ในขั้นตอนแรก ๆ ผู้สอนต้องปฏิบัติไปพร้อม ๆ กับผู้เรียนด้วย ต่อมาจึงจะสั่งผู้เรียนเท่านั่น และรู้จักเรียบเรียงจัดลำดับคำสั่งจากง่ายไปหายาก และไม่ควรให้คำสั่งใหม่เร็วเกินไป ควรให้คำสั่งใหม่ครั้งละ คำสั่ง และเมื่อผู้เรียนเข้าใจแล้ว จึงให้คำสั่งใหม่อีกครั้งละ คำสั่ง เช่น Walk to the door. Touch the door. Go back to your seat. คำสั่งที่ยากขึ้น เช่น Pam, go to the window แล้วพูดกับนักเรียนทั้งห้องว่า If Pam goes to the window, class stand up, please. Take out the book. Read the book. เป็นต้น

7 วิธีการสอนแบบอภิปราย (Discussion Method) 
          เป็นวิธีการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียน รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม รวมพลังความคิดเพื่อพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหา หาข้อเท็จจริง ฝึกให้ผู้เรียนกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น กล้าพูด อย่างมีเหตุผล ฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดี ฝึกให้เป็นคนมีระเบียบวินัย และอดทนที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เช่น ครูสร้างสถานการณ์ว่า สมมุตินักเรียนจะเข้าค่ายพักแรมเป็นเวลา วัน นักเรียนจะต้องเตรียมเครื่องใช้อะไรไปบ้าง ช่วยกันอภิปราย และสรุปผลออกมาเป็นรายงานส่งครู เป็นต้น

8 วิธีการสอนแบบโครงการ (Project Method) 
          เป็นวิธีที่สอนให้ผู้เรียนทำกิจกรรม ใดกิจกรรมหนึ่งที่ผู้เรียนสนใจ หรือตามที่ครูมอบหมายให้ทำ ผู้เรียนจะดำเนินการอย่างอิสระ ผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้แนะช่วยเหลือและติดตามผลงานของผู้เรียนว่าดำเนินการไปอย่างไร ผลงานก้าวหน้าเพียงใด หรือมีอุปสรรหรือไม่ และประเมินผลงานนั้น ๆ การสอนแบบนี้ผู้เรียนจะมีอิสระในการใช้ภาษาได้อย่างเต็มที่ และช่วยให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางภาษาได้เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น