27/1/56

การเรียนการสอนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)


การเรียนการสอนแบบร่วมมือ (Cooperative learning)


1. ความหมายการจัดการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ

          การจัดการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือหรือร่วมมือกันเรียนรู้ (Cooperative Learning) ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้

          พรรณรัศมิ์ เงาธรรมสาร กล่าวว่า การเรียนแบบทำงานรับผิดชอบร่วมกัน เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเรียนเป็นกลุ่มเล็ก สมาชิกในกลุ่มจะมีความสามารถที่แตกต่างกัน ผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และรับผิดชอบการทำงานของตนเองเท่ากับรับผิดชอบการทำงานของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มด้วย

          บุญครอง ศรีนวล (2543 : 9-10) กล่าวถึง การเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ คือ การจัดกิจกรรมการเรียนที่เน้นการเรียนเป็นกลุ่ม เพื่อให้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มเกิดการเรียนรู้และตระหนักถึงความสำคัญของตนเองในการช่วยให้กลุ่มประสบความผลสำเร็จ รวมทั้งการฝึกทักษะทางสังคมให้เกิดกับผู้เรียนด้วย
จากความหมายดังกล่าว สรุปได้ว่าการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนอีกรูปแบบหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยให้นักเรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย ๆ เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคน และสนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

2. เป้าหมายและลักษณะของผลผลิตของการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ

          การจัดการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือหรือร่วมมือกันเรียนรู้ เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทัศนคติและค่านิยมในตัวนักเรียนที่จำเป็นทั้งในและนอกห้องเรียน การจำลองรูปแบบพฤติกรรมทางสังคมที่พึงประสงค์ในห้องเรียน การเสนอแนะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวความคิดที่หลากหลายระหว่างสมาชิกในกลุ่ม การพัฒนาพฤติกรรมการแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ และการคิดอย่างมีเหตุผล รวมทั้งการพัฒนาลักษณะของผู้เรียนให้รู้จักตนเองและเพิ่มคุณค่าของตนเอง จากกิจกรรมดังกล่าวจะมีผลต่อผู้เรียน โดยสรุปใน 3 ประการ คือ
          1.ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน (Cognitive Knowledge)
          2.ทักษะทางสังคม โดยเฉพาะทักษะการทำงานร่วมกัน (Social Skills)
          3.การรู้จักตนเองและตระหนักในคุณค่าของตนเอง (Self-Esteem)

3. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ

          บุญครอง ศรีนวล (2543 : 1113) ได้รวบรวมแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือไว้ ดังนี้

          Slavin กล่าวว่าการสอนแบบกลุ่มร่วมมือเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนให้ความสามารถเฉพาะตัวแทนและศักยภาพในตนเองและร่วมมือแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้บรรลุผลสำเร็จ โดยสมาชิกในกลุ่มตระหนักว่าตระหนักว่าแต่ละคนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ทั้งนี้นักเรียนจะรู้สึกถึงคุณค่าของตนเองที่เพิ่มขึ้น เพราะว่านักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่ม นอกจากนั้นการสอนแบบกลุ่มร่วมมือยังก่อให้เกิดบรรยากาศที่นักเรียนได้พูดคุยกัน เป็นการช่วยให้นักเรียนและเพื่อนเข้าใจปัญหาชัดเจนยิ่งขึ้น การที่นักเรียนสามารถอธิบายให้เพื่อนฟังได้เป็นการยกระดับความเข้าใจให้ชัดเจนแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น สำหรับบทบาทของครูที่จะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมต้องไม่ถือว่าตนเองเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในชั้นเรียนเดียวกัน แต่เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้นักเรียนสามารถค้นหาความรู้ได้จากการร่วมมือกันเรียนรู้ ซึ่งเกิดจากการกระทำของตนเองและจากเพื่อนนักเรียนด้วยกัน

          นอกจากนี้ Juyce and Wiel ได้กล่าวว่า เทคนิคการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือเป็นเทคนิคที่ช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งทางด้านสติปัญญา ให้เกิดการเรียนรู้จนบรรลุถึงขีดความสามารถสูงสุดได้ โดยมีเพื่อนในวัยเดียวกัน กลุ่มเดียวกันเป็นผู้คอยแนะนำหรือช่วยเหลือ ทั้งนี้เนื่องจากผู้เรียนที่อยู่ในวัยเดียวกัน ย่อมจะมีการใช้ภาษาสื่อสารที่เข้าใจกันง่ายกว่าครูผู้สอน ซึ่งการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือมีหลักที่ผู้สอนต้องคำนึงถึงอยู่ 3 ประการ คือ
          1.มีรางวัลหรือเป้าหมายของกลุ่ม
          2.ความหมายของแต่ละบุคคลในกลุ่ม
          3.สมาชิกในกลุ่มมีโอกาสในการช่วยเหลือให้กลุ่มประสบผลสำเร็จได้เท่าเทียมกัน

สำหรับรายละเอียดของหลักการ 3 ประการ มีดังนี้
          1.มีรางวัลหรือเป้าหมายของกลุ่มในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนจะต้องตั้งเป้าหมายหรือรางวัลไว้เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความพยายามในการเรียนรู้มากขึ้นและพยายามปรับพฤติกรรมของตน เพื่อความสำเร็จของกลุ่ม รางวัลที่กำหนดอาจเป็นสิ่งของ ประกาศนียบัตรหรือคำชมเชย การเชิดชูเกียรติ แต่อย่างไรก็ตามครูผู้สอนต้องแจ้งให้ผู้เรียนทราบว่าไม่ควรแข่งขันกันเพื่อจุดประสงค์ต้องการรางวัลอย่างเดียว
          2.ความหมายของแต่ละบุคคลในกลุ่มการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ถึงแม้จะอยู่ในรูปของกลุ่ม แต่จะต้องมีขั้นตอนที่สามารถบอกถึงความสามารถของสมาชิกแต่ละคนได้ว่าเข้าใจบทเรียนมากน้อยเพียงไร ในการเรียนแต่ละครั้งต้องมั่นใจว่าสมาชิกทุกคนในกลุ่มเข้าใจ เนื้อหาบทเรียน เป้าหมายของกลุ่มจะประสบผลสำเร็จได้ต้องขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของทุกคนในกลุ่ม
          3.สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มมีโอกาสในการช่วยให้กลุ่มประสบผลสำเร็จได้เท่าเทียมกัน นักเรียนทุกคนในกลุ่มมีส่วนช่วยเหลือกลุ่มของตนเองให้ผ่านกิจกรรมไปได้เท่าเทียมกัน ทั้งนี้ คนเก่ง ปานกลาง และอ่อน

รูปแบบการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ มีแนวคิดตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อ ดังต่อไปนี้

(บุญครอง ศรีนวล 2543 : 14) อ้างอิงมาจาก (สุลัดดา ลอยฟ้า 2536)
1.การสอนแบบกลุ่มร่วมมือจะสร้างแรงจูงใจในการเรียนมากกว่าเดิม การเรียนรายบุคคลหรือการแข่งขัน ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวของกลุ่ม จะสร้างพลังในทางบวกให้แก่กลุ่ม
2.สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มของการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ จะเรียนจากกันและกันจะพึ่งพากันเรียนรู้
3.การปฏิสัมพันธ์กันภายในกลุ่ม นอกจากจะพัฒนาความรู้ความเข้าในในเนื้อหาวิชาที่เรียนแล้ว ยังพัฒนาทักษะทางสังคมไปในตัวด้วย เป็นรูปแบบการสอนที่พัฒนากิจกรรมทางสติปัญญาที่เพิ่มพูนการเรียนรู้มากกว่าการเรียนการสอนรายบุคคล
4.การร่วมมือกันเรียนรู้ จะเพิ่มพูนความรู้ในทางบวกต่อกันและกัน ระหว่างสมาชิกในกลุ่มลดความรู้สึกโดดเดี่ยวและห่างเหิน ในทางตรงกันข้าม
5.การร่วมมือกันเรียนรู้ จะพัฒนาความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง รู้จักตนเองจากการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งจากสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ตระหนักว่าตนเองได้รับการยอมรับและเอาใจใส่จากสมาชิกคนอื่นในกลุ่ม
6.ผู้เรียนสามารถพัฒนาความสามารถในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพจากการทำงานที่กำหนดให้กลุ่มรับผิดชอบ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ร่วมมือกันทำงานมากเท่าใด ผู้เรียนจะสามารถพัฒนาทักษะทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการทำงานร่วมกันมากเท่านั้น
7.ทักษะทางสังคมที่จำเป็นต่าง ๆ สามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ เพื่อประสิทธิภาพของการทำงานร่วมกัน
จากแนวคิดดังกล่าวที่จะสรุปได้ว่า การเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือนั้น เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนได้ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งสมาชิกทุกคนต้องช่วยเหลือกันและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการอยู่ร่วมกันทางสังคม 

กลุ่มการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือ
          
          (Cooperative Learning)  กลุ่มการเรียนแบบเดิม (Traditional Learning)
1.สมาชิกมีความรับผิดชอบร่วมกัน
2.สมาชิกแต่ละคนรับผิดชอบในงานของตนเองและสมาชิกกลุ่ม
3.สมาชิกมีความสามารถที่แตกต่างกัน
4.สมาชิกผลัดเปลี่ยนกันเป็นหัวหน้า
5.สมาชิกแบ่งความรับผิดชอบซึ่งกันและกัน
6.การประเมินผลเน้นวิธีการและผลงาน
7.ครูจัดการสอนทักษะทางสังคม
8.ครูสังเกตการณ์สอน แนะนำการทำงานกลุ่ม
9.ครูเน้นวิธีการทำงานกลุ่ม 
          9.1 มีความรับผิดชอบเฉพาะตน
          9.2 สมาชิกแต่ละคนอาจจะไม่รับผิดชอบงานของตนเองและของสมาชิก
          9.3 สมาชิกมีความสามารถใกล้เคียงกัน
          9.4 สมาชิกเลือกหัวหน้า
          9.5 สมาชิกรับผิดชอบเฉพาะตนเอง
          9.6 การประเมินผลเน้นที่ผลงาน
          9.7 ทักษะทางสังคมถูกละเลยไม่มีการสอน
          9.8 ครูละเลยไม่สนใจการทำงานกลุ่ม
          9.9 วิธีการทำงานกลุ่มมีน้อย

4. รูปแบบการสอน

            สุลัดดา ลอยฟ้า (2537 : ไม่มีเลขหน้า) ได้กล่าวถึงรูปแบบการสอนแบบกลุ่มร่วมมือว่า แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
          1. รูปแบบการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ ตามแนวคิดของ Robert Slavin และคณะจาก John Hopkins University ได้พัฒนาเทคนิคการสอนแบบกลุ่มร่วมมือต่าง ๆ เป็นที่ยอมรับกันแพร่หลาย ดังนี้
                     1.1 STAD (Student Teams – Achievement Division) เป็นรูปแบบการสอนที่สามารถดัดแปลงใช้ได้เกือบทุกวิชาและทุกระดับชั้น เพื่อเป็นการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะทางสังคมเป็นสำคัญ
                     1.2 TGT (Team Games Tournament) เป็นรูปแบบการสอนที่คล้ายกับ STAD แต่เป็นการจูงใจในการเรียนยิ่งขึ้น โดยการใช้การแข่งขันเกมแทนการทดสอบย่อย
                     1.3 TAI (Team Assisted Individualization) เป็นรูปแบบการสอนที่ผสมผสานแนวความคิดระหว่างการสอนแบบกลุ่มร่วมมือกับการสอนรายบุคคล รูปแบบการสอน TAI เป็นการประยุกต์ใช้กับการสอนคณิตศาสตร์
                     1.4 CIRC (Cooperative Integrate Reading and Composition) เป็นรูปแบบการสอนแบบกลุ่มร่วมมือแบบผสมผสาน ที่มุ่งพัฒนาขึ้นเพื่อสอนการอ่านและการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายโดยเฉพาะ
                     1.5 Jigsaw ผู้คิดค้นการสอนแบบ Jigsaw เริ่มแรกคือ Elliot – Aranson และคณะ (1978) หลังจากนั้น Slavin ได้นำแนวคิดดังกล่าวมาปรับขยายเพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการสอนแบบกลุ่มร่วมมือมากยิ่งขึ้น ยิ่งเป็นรูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับวิชาที่เกี่ยวข้องกับการบรรยาย เช่น สังคมศึกษา วรรณคดี บางส่วนของวิชาวิทยาศาสตร์ รวมทั้งวิชาอื่น ๆ ที่เน้นการพัฒนาความรู้ความเข้าใจมากกว่าการพัฒนาทักษะ

          2. รูปแบบการสอนแบบกลุ่มร่วมมือตามแนวคิดของ David Johnson และคณะจากมหาวิทยาลัย Minnessota (1989) ได้พัฒนารูปแบบการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ โดยยึดหลักการเบื้องต้น 5 ประการด้วยกัน คือ
                   2.1 การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Positive In Interdepence)
                   2.2 การปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัว (Face to Face promotive Interaction)
                   2.3 ความหมายและทักษะความสามารถของแต่ละบุคคลในกลุ่ม (Individual Accountability)
                   2.4 ทักษะทางสังคม (Social Skills)
                   2.5 กระบวนการกลุ่ม (Group Processing)

          3. รูปแบบการสอนแบบร่วมมือในงานเฉพาะอย่าง เช่น Group Investigation ของ Shlomo และ
Yael Sharan , co-op-co-op



การสอนการคิด


การคิดและการสอนเพื่อพัฒนาการคิด


           การใช้ความคิดของมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างมากต่อการดำเนินชีวิต ผู้ที่มีความคิดเฉียบแหลม ทันสมัย ไม่เหมือนใคร คิดได้ก่อนใครจะเป็นผู้ที่ได้เปรียบในทุก ๆ ด้าน สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและประสบผลสำเร็จทั้งในชีวิตส่วนตัวและการทำงาน
          ความคิดของมนุษย์เป็นผลที่เกิดจากกลไกของสมองซึ่งเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และเป็นไปตามธรรมชาติ ผลของการใช้ความคิดจะแสดงให้เห็นในลักษณะของการสรุปเป็นความคิดรวบยอด การจำแนกความแตกต่าง การจัดกลุ่ม การจัดระบบการแปลความหมายของข้อมูล รวมทั้งการสรุปอ้างอิง การเชื่อมโยงสัมพันธ์ของข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับข้อมูลที่ได้มา อาจเป็นความจริงที่สัมผัสได้ หรือเป็นเพียงจินตนาการที่ไม่อาจสัมผัสได้ ดังนั้น สมองจึงควรได้รับการฝึกฝนและพัฒนาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและคุณภาพของสมองมิได้อยู่ที่การมีสมองเท่านั้น แต่อยู่ที่การใช้สมองเป็นสำคัญ การฝึกทักษะกระบวนการคิดจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่เยาวชนควรได้รับ การพัฒนาเพื่อให้เกิดความเจริญเติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพและดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
          แนวการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้กล่าวถึงการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นฝึกฝนทักษะสำคัญ คือ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ การประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
        การจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น ใฝ่เรียนใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จึงเป็นภาระงานที่สำคัญยิ่ง และมีคุณค่าต่อความเป็นครูมืออาชีพในยุคของการปฏิรูปการเรียนรู้

          ความหมาย
      
          การคิด หมายถึง พฤติกรรมภายในที่เกิดจากกระบวนการทำงานของสมอง ในการรวบรวมจัดระบบข้อมูลและประสบการณ์ต่าง ๆ ทำให้เกิดเป็นรูปร่างหรือมโนภาพที่เป็นเรื่องราวขึ้นในใจและสื่อสารออกมาโดใช้คำพูดหรือแสดงออก

         แนวคิด
           
        1.การคิดและการสอนคิดเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งในการจัดการศึกษาเพื่อให้มีคุณภาพสูง ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้มีการศึกษาเรื่องของการพัฒนาผู้เรียนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพทุกด้าน ทั้งด้านสติปัญญา คุณธรรม และความเป็นพลเมืองดีของประเทศโดยเน้นการฝึกการคิดและกระบวนการคิด
       2.การคิดเป็นกระบวนการทางปัญญาที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และมักจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอไม่มีขอบเขตจำกัด การคิดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
                  2.1 การคิดอย่างไม่มีจุดมุ่งหมาย (Associative Thinking) เป็นการคิดแบบไม่ตั้งใจหรือมีจุดมุ่งหมายการคิด มีลักษณะคิดไปเรื่อย ๆ การคิดเช่นนี้มักไม่มีผลสรุป และไม่สามารถนำผลของการคิดไปใช้ประโยชน์
                  2.2 การคิดอย่างมีจุดหมาย (Directed Thinking) เป็นการคิดเพื่อหาคำตอบ เพื่อแก้ปัญหา หรือนำไปสู่จุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายโดยตรง สามารถนำผลของการคิดไปใช้ประโยชน์
      3.การสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของการจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะความคิดอย่างมีจุดมุ่งหมายช่วยให้ผู้เรียนตัดสินใจหรือแก้ปัญหาได้อย่างมีคุณภาพ และเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะในยุคที่โลกกำลังเจริญก้าวหน้า สภาพสังคมและเศรษฐกิจเปลี่ยนไป เป็นสังคมแห่งการพัฒนาข่าวสารข้อมูล
     4.ความสามารถในการคิด ส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดขึ้นได้ด้วยการฝึกฝนภายในสถานการณ์ที่เหมาะสม โดยเริ่มจากความสามารถพื้นฐานในการคิดที่เรียกว่า ทักษะการคิด แล้วเพิ่มความซับซ้อนขึ้นโดยการฝึกลักษณะการคิดและกระบวนการคิดตามลำดับ
          กรอบความคิดของการคิด ตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดของ ทิศนา แขมณี และคณะ (2540) ได้แบ่งประเภทของการคิดเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

          กลุ่มที่ 1 ทักษะการคิด หรือทักษะการคิดพื้นฐานที่มีขั้นตอนการคิดไม่ซับซ้อน เป็นทักษะพื้นฐานของการคิดขั้นสูง หรือระดับสูงที่มีขั้นตอนซับซ้อน แสดงออกถึงการกระทำหรือพฤติกรรมที่ต้องใช้ความคิด แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ทักษะการคิดพื้นฐาน และทักษะการคิดขั้นสูง ดังนี้
            1.ทักษะการคิดพื้นฐาน ประกอบด้วย
                  1.1 ทักษะการสื่อความหมาย หมายถึง ทักษะการรับสารที่แสดงถึงความคิดของผู้อื่นเข้ามาเพื่อรับรู้ ตีความแล้วจดจำ และเมื่อต้องการที่จะระลึก เพื่อนำมาเรียบเรียงและถ่ายทอดความคิดของตนให้แก่ผู้อื่น โดยแปลความคิดในรูปของภาษาต่าง ๆ ทั้งที่เป็นข้อความ คำพูด ศิลปะ ดนตรี คณิตศาสตร์ ฯลฯ เช่น ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอภิปราย ทักษะการทำให้กระจ่าง เป็นต้น
                  1.2 ทักษะการคิดที่เป็นแกนหรือทักษะการคิดทั่วไป หมายถึง ทักษะการคิดที่จำเป็นต้องใช้อยู่เสมอในการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น ทักษะการสังเกต ทักษะการสำรวจ ทักษะการตั้งคำถาม ทักษะเก็บรวบรวมข้อมูล ทักษะการระบุ ทักษะการจำแนก ทักษะการเปรียบเทียบ เป็นต้น
            2.ทักษะการคิดขั้นสูงหรือทักษะการคิดที่ซับซ้อน หมายถึง ทักษะการคิดที่มีขั้นตอนหลายขั้น และต้องอาศัยทักษะการสื่อความหมาย และทักษะการคิดที่เป็นแกนหลาย ๆ ทักษะในแต่ละขั้น เช่น ทักษะการสรุปความ ทักษะการให้คำจำกัดความ ทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการผสมผสานข้อมูล ทักษะการจัดระบบความคิด ทักษะการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ทักษะการตั้งสมมุติฐาน เป็นต้น

         กลุ่มที่ 2 ลักษณะการคิด หรือการคิดขั้นกลาง/ระดับกลาง มีขั้นตอนในการคิดซับซ้อนมากกว่าการคิดในกลุ่มที่ 1 การคิดในกลุ่มนี้เป็นพื้นฐานของการคิดระดับสูง ซึ่งลักษณะการคิดแต่ละลักษณะต้องอาศัยทักษะการคิดขั้นพื้นฐานมากบ้างน้อยบ้างในการคิดแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
            1.ลักษณะการคิดทั่วไปที่จำเป็น ได้แก่ การคิดคล่อง การคิดละเอียด การคิดหลากหลาย การคิดชัดเจน
            2.ลักษณะการคิดที่เป็นแกนสำคัญ ได้แก่ การคิดถูกทาง การคิดไกล การคิดกว้าง การคิดอย่างมีเหตุผล      การคิดลึกซึ้ง

         กลุ่มที่ 3 กระบวนการคิด หรือการคิดระดับสูง มีขั้นตอนในการคิดซับซ้อนและต้องอาศัยทักษะการคิด และลักษณะการคิดเป็นพื้นฐานในการคิด กระบวนการคิดมีอยู่หลายกระบวนการ เช่น กระบวนการคิดแก้ปัญหา กระบวนการคิดตัดสินใจ กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กระบวนการคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น

  แนวการวัดความสามารถด้านการคิดจากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในขณะจัดกิจกรรมการเรียนรู้

      ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการสอนเพื่อพัฒนาการคิด

           ในสถานการณ์การเรียนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่อง การประกอบอาชีพ ครูได้สอนถึงอาชีพต่าง ๆ ในท้องถิ่น ประโยชน์และความสำคัญของอาชีพต่าง ๆ รวมทั้งความสัมพันธ์ของการประกอบอาชีพต่อการเจริญของสังคมที่อาศัยอยู่โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ต่อไปนี้

      ครูนำภาพของอาชีพต่าง ๆ ในชุมชนมาให้นักเรียนเรียนรู้แล้วสนทนากับนักเรียนดังนี้
ในภาพนี้มีอาชีพอะไรบ้าง
นักเรียนคิดว่านอกจากอาชีพในภาพที่ครูนำมาให้ดู ยังมีอาชีพอะไรอีกบ้าง
อาชีพแต่ละอาชีพมีความสำคัญอย่างไร
ถ้าให้นักเรียนเลือกประกอบอาชีพจะเลือกอาชีพอะไร
ถ้าประชาชนทุกคนในชุมชนมีอาชีพ มีรายได้จะมีผลต่อประเทศชาติอย่างไร
ถ้าให้เลือกประกอบอาชีพที่สุจริต รายได้น้อย กับการค้าของผิดกฎหมายซึ่งมีรายได้ดี นักเรียนจะเลือกอาชีพอะไร      

      ทักษะ/ลักษณะการคิด
การสังเกต
การทำให้กระจ่าง
การอธิบาย
การระบุ
การคิดไกล
การคิดถูกทาง
การคิดอย่างมีเหตุผล
      
      พฤติกรรมที่วัดได้
นักเรียนบอกได้ว่ามีอาชีพอะไรบ้าง
นักเรียนบอกอาชีพต่าง ๆ นอกเหนือจากในภาพ
นักเรียนบอกความสำคัญของแต่ละอาชีพได้
นักเรียนบอกอาชีพที่ตนชอบได้
นักเรียนบอกถึงผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
นักเรียนเลือกอาชีพสุจริต และให้เหตุผลในการเลือกได้

กิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ



แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร



1.สอนให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวหรือเกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนประสบอยู่ในชีวิตประจําวัน เช่น การสอบถาม การออกคําสั่ง การขอร้อง ฯลฯ

2.เน้นการฝึกภาษาแบบที่เจ้าของภาษาใช้ในการสื่อความหมายในชีวิตจริง แต่เป็นภาษาง่าย ๆ สําหรับผู้เริ่มเรียน แต่ละครั้งที่ฝึก ครูจะต้องตั้งจุดประสงค์ที่แน่นอนว่าต้องการจะฝึกให้ใช้ภาษาเพื่อความหมายอะไร ในสถานการณ์เช่นใด

3.เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ใช้ภาษาอังกฤษให้มากที่สุดโดยอาศัยกิจกรรมคู่หรือกิจกรรมกลุ่ม เนื่องจากนักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันการใช้บทเรียนหรือวิธีการสอนแบบเดียวกันอาจไม่เหมาะกับนักเรียนทุกคนในชั้น เพราะนักเรียนบางคนเรียนเร็วบางคนเรียนช้า การแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อยเพื่อทํากิจกรรมต่าง ๆ จะช่วยแก้ไขปัญหา

4.ครูผู้สอนควรฝึกทักษะการฟังแบบปกติทั่วไป (casual listening) และการฟังแบบมีจุดมุ่งหมาย (Focused listening) โดยใช้กิจกรรมง่าย ๆ เช่น ฟัง และพูดตาม ฟังแล้วทําเครื่องหมาย ฟังแล้ววาดภาพ ฟังแล้วโยงภาพให้สัมพันธ์กัน ฟังแล้วชี้ไปที่ของจริงหรือภาพนั้น ๆ ฟังแล้วปฏิบัติตาม เป็นต้น

5.ในการดําเนินการเรียนการสอนครูผู้สอนควรใช้ภาษาอังกฤษให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเคยชินกับภาษาและเป็นแม่แบบสําหรับการฝึก

6.ครูผู้สอนควรหาสื่อที่จะนํามาพัฒนาความสามารถของตนเองให้มากขึ้น

7.ครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้หลากหลายไม่ยึดติดอยู่กับกิจกรรมหรือสื่ออย่างใดอย่างหนึ่งจะทําให้ผู้เรียนเรียนด้วยความสนุกสนานไม่เกิดความเบื่อหน่าย เห็นประโยชน์ และเป็นการสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนซึ่งจะทําให้ผลการเรียนดีขึ้น

8.ครูผู้สอนจะต้องประเมินและให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนในการประเมินครูอาจใช้วิธีสุ่มเรียกนักเรียนบางคู่/บางกลุ่มให้ทํากิจกรรมหรือเสนอผลงานการประเมินและให้ข้อมูลย้อนกลับเป็นสิ่งจําเป็นมาก เพราะจะทําให้นักเรียนได้ทราบถึงความสําเร็จหรือความล้มเหลวในการทํากิจกรรม

9. ครูผู้สอนจะต้องสร้างบรรยากาศแห่งความประทับใจที่ดีของผู้เรียนให้ได้ก่อนลงมือทําการสอนในแต่ละครั้ง การเริ่มสอนชั่วโมงแรกยังไม่ควรเริ่มสอนเนื้อหาวิชาทันทีแต่ควรสร้างความคุ้นเคย สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร นุ่มนวล เปี่ยมด้วยความเมตตา ให้ความอบอุ่นและความเป็นกันเองกับผู้เรียน ผู้เรียนจะมีความประทับใจที่ดีต่อผู้สอน จะทําให้การดําเนินการสอนต่อ ๆ ไป เป็นไปอย่างราบรื่น

10. ครูผู้สอนต้องไม่รีบเร่งสอนให้จบบทเรียน เพราะปริมาณเนื้อหาที่นักเรียนจะต้องเรียนนั้นไม่สําคัญเท่ากับความสามารถในการใช้ภาษาได้อย่างแท้จริง การสอนภาษาอังกฤษ ในระดับเริ่มต้นควรสอนให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวหรือเกี่ยวกับ สิ่งที่นักเรียนประสบอยู่ในชีวิตประจําวัน ด้วยภาษาง่าย ๆ ในการฝึกแต่ละครั้ง ผู้สอนต้องตั้งจุดประสงค์ที่แน่นอนว่าต้องการจะฝึกให้ใช้ภาษาเพื่อความหมายอะไร ในสถานการณ์เช่นใด

11. ครูผู้สอนต้องมีเทคนิคการแก้ไขข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาของผู้เรียนที่เหมาะสม การเรียนภาษาในอดีตเน้นความถูกต้องของภาษาเป็นสําคัญ ผู้สอนจะแก้ข้อผิดพลาดของผู้เรียนทุกครั้ง การกระทําเช่นนี้ก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีเพราะจะทําให้ผู้เรียนเกิดความไม่มั่นใจในการใช้ภาษาจึงพยายาหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาอยู่เสมอ ก่อให้เกิดความท้อถอยที่จะใช้ภาษา และมีเจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียนภาษา ความผิดพลาดในการใช้ภาษาของผู้เรียนเป็นเรื่องของความปกติและธรรมดาดังนั้นการแก้ไขคําผิดของนักเรียนอาจทําได้ทันทีในขั้นการสอนที่เน้นความถูกต้อง(accuracy) แต่ในขั้นการสอนการฝึกที่ต้องการเน้นความคล่อง (fluency) ก็จดบันทึกไว้สรุปแก้ไขภายหลังการสอนแต่ละครั้งหรือโอกาสที่เหมาะสม เพราะแนวการเรียนภาษาเพื่อสื่อสารให้ความสําคัญกับการใช้ภาษา (use) มากกว่าวิธีใช้ภาษา (usage) ผู้สอนจึงไม่ควรแก้ไขข้อผิดพลาดของผู้เรียนทุกครั้ง ควรแก้ไขเฉพาะที่จําเป็น มิฉะนั้นอาจทําให้ผู้เรียนขาดความมั่นใจและไม่กล้าใช้ภาษาในการทํากิจกรรมต่าง ๆ

12. ครูผู้สอนควรเป็นต้นแบบที่ดีในการออกเสียงที่ถูกต้อง ตลอดจนการใช้กิริยา ท่าทาง สีหน้า และนํ้าเสียงประกอบในการสื่อความหมายและต้องสนใจฟังในสิ่งที่ผู้เรียนพูดอย่างตั้งใจผู้สอนที่ต้องการพัฒนาทักษะการพูดของผู้เรียนต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการพูดและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พูดมิใช่ฟังอย่างเดียว และ ถ้าผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษามาก ๆ เขาก็จะเรียนทักษะอื่น ๆ ได้เร็ว

13. ครูผู้สอนควรลดบทบาทการพูดของตน โดยพยายามให้ผู้เรียนได้มีโอกาสพูดให้มาก ในการสอนแต่ละครั้งครูผู้สอนควรพูดไม่เกิน 25% อีก 75% เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พูดเพื่อจะได้เรียนรู้และฝึกใช้ภาษาอังกฤษให้มากที่สุดอนึ่งในช่วงแรก ๆ ไม่ควรบังคับให้นักเรียนพูดในขณะที่เขายังไม่มีความพร้อมที่จะพูด การเรียนภาษาจะได้ผลช้าลงถ้าผู้เรียนรีบร้อนที่จะพูดเร็วเกินไป ก่อนที่จะสามารถฟังภาษาให้เข้าใจและรู้ศัพท์มากพอสมควรแล้ว ครูอาจนําวิธีสอนแบบการตอบสนองด้วยท่าทางมาใช้ เพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกว่าตนเองประสบความสําเร็จในการเรียนกระบวนการสอน การจัดกิจกรรม และบทบาทการสอนเพื่อการสื่อสารดังที่กล่าวมานับว่า เป็นสิ่งสําคัญก่อให้เกิดพฤติกรรมการสอนภาษาอังกฤษที่พึงประสงค์ดังจะได้กล่าวต่อไป



กิจกรรมการสอนภาษาอังกฤษ


          การเรียนรู้ในชั้นเรียนถือเป็นวินาทีที่ยิ่งใหญ่ในการสร้างความรักในการเรียนภาษาอังกฤษ จะสอนภาษาอังกฤษยังไงให้เด็กๆชอบ ครูภาษาอังกฤษ 100 % ทุกคนตอบได้ค่ะ
สอนจากสิ่งที่พวกเขารัก
           เด็กๆมีธรรมชาติแห่งช่วงวัยที่งดงาม เป็นวัยที่สดใส แสนซ่า และวัยรุ้น..วัยรุ่น ถ้าเป็นเด็กๆในช่วงประถมศึกษา ภาพที่ผู้เขียนยังจำได้ติดตา คือ คุณครูผู้สอนที่น่ารัก พยายามฝึกให้เราอ่าน ABC ด้วยความพยายามของครูเช่นกัน เมื่อครูก็พยายามเราก็พยายาม มันก็เลยพอไปได้ค่ะ พอโตขึ้นมาอีกหน่อย คุณครูก็เริ่มดุขึ้นแล้ว ท่องศัพท์ไม่ได้ ก็ตี ตี ตี ได้แต่ร้องตะโกนบอกฟ้า (ตามเพลงฮิตสมัยนั้น) ว่า ครูขาถึงจะตียังไงหนูก็ไม่ได้อยู่ดีค่ะครู ได้โปรดอย่าทำร้ายฉันแล้วลองมองที่ปัจจุบันนะคะ....ลองมองที่สังคมไทย สมัยนี้ ถ้าครูสอนแบบตามมี ตามเกิด สอนเท่าที่พยายามเหมือนครั้งกระนู้น เด็กๆเขามีแรงกดดันอยู่แล้วจากสังคม มันจะไปเหลืออาไร้....
เพราะฉะนั้น ลบภาพกิจกรรมการท่องการอ่านตามตำราอย่างเดียวไปก่อนค่ะ แล้วลองอ่านตัวอย่างกิจกรรมที่เด็กๆรัก ดังต่อไปนี้ค่ะ

1. เพลง (Song)
          การสอนให้เด็กๆร้องเพลงภาษาอังกฤษ ช่วยได้มากค่ะ เด็กๆจะได้ทั้งความสนุกสนาน เพลิดเพลินและจะคุ้นเคยกับการใช้สำเนียงภาษาอังกฤษโดยไม่เคอะเขิน แถมด้วยการโยกย้ายส่ายสะโพกตามเพลงซะด้วย สุดยอดเลยค่ะ พอร้องเพลงแล้ว ต้องรีบฉกฉวยโอกาสทองในการทบทวนคำศัพท์ทั้งหมดที่ได้เรียนไปค่ะ
2. เกม (Game)
          การเล่นเกมภาษาอังกฤษ สามารถมัดใจของเด็กๆได้อยู่หมัดเลยนะคะ มีเกมภาษาอังกฤษที่ผู้เขียนใช้แล้วประสบความสำเร็จมาก ส่วนชื่อเกมอาจจะปรับเปลี่ยนได้แล้วแต่ครูผู้สอน ดังนี้ค่ะ
          -Spin the bottle เป็นเกมที่เหมาะกับการฝึกทักษะการถาม ตอบภาษาอังกฤษ โดยเด็กๆนั่งเป็นวงกลม ครูเดินเข้าไปกลางวงและเริ่มหมุนขวด เมื่อปลายขวดชึ้ไปที่ใครให้เด็กคนนั้นตอบ ครูตั้งคำถาม เช่น “ What is your favorite food” แล้วเปลี่ยนคนที่ตอบแล้วมาถามคนถัดไปจนครบทุกคน หรือปรับได้ตามความเหมาะสมของเวลาค่ะ
          - Listen and take เป็นเกมสนุกๆ เหมาะกับการฝึกทักษะการอ่านและฟังค่ะ โดยครูและเด็กๆช่วยกันวางคำศัพท์บนพื้น หรือติดคำศัพท์ไว้บนกระดาน แล้วแบ่งเด็กออกเป็นสองกลุ่ม แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาเล่นเกม ครูอ่านคำศัพท์และให้ผู้เล่นหยิบคำศัพท์ให้ตรงกับที่ครูอ่าน ใครหยิบได้ก่อนเป็นผู้ได้คะแนนค่ะ เด็กๆสามารถเล่นได้จนครบทุกคนค่ะ
          - Listen and write เป็นเกมที่เหมาะกับการฝึกทักษะการฟังและการเขียนค่ะ โดยครูอ่านคำศัพท์และให้ผู้เล่นเขียนคำศัพท์ให้ตรงกับที่ครูอ่าน ซึ่งถ้าเป็นคำศัพท์ที่ยากเกินไป ครูอาจจะเขียนตัวอักษรบางตัวให้ค่ะ เด็กๆจะได้รู้สึกอยากล่นมากขึ้น เกมนี้ถ้าจัดเป็นกลุ่มจะดีมากค่ะ
          - Listen and circle เป็นเกมสนุกๆ เหมาะกับการฝึกทักษะการอ่านและฟังค่ะ โดยครูและเด็กๆช่วยกันเขียนคำศัพท์ไว้บนกระดาน แล้วแบ่งเด็กออกเป็นสองกลุ่ม แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาเล่นเกม ครูอ่านคำศัพท์และให้ผู้เล่นวงกลมคำศัพท์ให้ตรงกับที่ครูอ่าน ใครวงกลมได้ก่อนเป็นผู้ได้คะแนนค่ะ เด็กๆสามารถเล่นได้จนครบทุกคนค่ะ
          - Hang Man เกมต้นตำรับที่ท้าทาย ตื่นเต้น และฝึกทักษะการเขียนได้ดีมากค่ะ
          - Hot Ball เป็นเกมที่เด็กชื่นชอบ เพราะนอกจากจะได้เล่นลูกบอลสนุกๆแล้ว ยังได้ฝึกพูดภาษาอังกฤษกับเพื่อนๆ วิธีการเล่น คือ ผลัดกันโยนลูกบอลโดยสมมติให้เป็นลูกบอลที่ร้อนที่สุด ใครได้รับพยายามแต่งประโยคภาษาอังกฤษ หรือบอกคำศัพท์ตามโจทย์ที่ได้รับ ถ้านึกไม่ออกก็ส่งบอลให้เพื่อนก่อน แต่ห้ามส่งบอลโดยที่ไม่ตอบอะไรเลยเกิน 3 ครั้งค่ะ ไม่อย่างนั้นต้องเข้ามากลางวงร้องและเต้นเพลงให้เพื่อนๆได้หัวเราะก่อนเรียนนะคะ
          - Music Ball เป็นเกมที่เด็กชื่นชอบเช่นกันค่ะ วิธีการเล่น คือ ครูจะเปิดเพลงให้เด็กๆผลัดกันส่งลูกบอลไปตามเพลงด้วยความสนุกสนาน ถ้าเพลงหยุดที่ใครให้แต่งประโยคภาษาอังกฤษ หรือบอกคำศัพท์ตามโจทย์ที่ได้รับ
          - Snap เป็นเกมที่ฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำศัพท์ เกมนี้เหมาะกับการเล่นในเวลาพัก เช่น หลังจากทำงานเสร็จ วิธีการเล่น คือ จับคู่ แล้วนำบัตรคำศัพท์มาวางตรงกลาง (คว่ำด้านคำศัพท์ลง) เมื่อพร้อมแล้วให้สัญญาณ ใครเอามือวางทับบัตรคำ (ตะครุบ)ได้ก่อนเป็นผู้ได้บัตรคำและ ให้ผู้เล่นฝั่งตรงข้ามสะกดคำศัพท์นั้น ถ้าสะกดถูกต้องจะได้บัตรคำศัพท์นั้นไป

3. สื่อมัลติมีเดีย (Multimedia)
          เป็นการเพิ่มทางเลือกในการเรียนภาษาอังกฤษได้ดีมาก ทุกวันนี้มี Website สำหรับนักเรียน นักศึกษาที่น่าสนใจมาก เด็กๆสามารถฝึกออกเสียงได้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา พร้อมกับชมภาพสวยๆ น่ารักๆนอกจากนั้นยังมีเกมที่น่าสนใจอีกมากมายค่ะ

4. หนังสือ (Book)
          เพื่อนที่ดีที่สุดของเด็กๆ คือ หนังสือค่ะ ครูอาจจะเลือกหนังสือมาอ่านให้เด็กๆฟัง แล้วทบทวนคำศัพท์หลังการอ่าน ถ้าเป็นเด็กโต ก็อาจจะให้เด็กๆเลือกเรื่องที่ชอบมาอ่านให้ครูและเพื่อนๆฟัง แล้วตั้งคำถามตอบเพื่อนก็ได้ค่ะ

5.งานศิลปะ (Art)
          การที่เด็กๆได้ทำชิ้นงานศิลปะ เช่น งานฝีมือ การวาดภาพระบายสี ฯลฯ เป็นช่วงเวลาที่เด็กๆมีความสุขมากค่ะ ในขณะเดียวกันคุณครูสามารถสอนภาษาอังกฤษไปพร้อมๆกับการทำกิจกรรมนั้นด้วย เป็นการศึกษาแบบบูรณาการที่ดีมาก



 วิธีการสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ

ความหมาย

                วิธีการสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ  หมายถึง  วิธีสอนที่ผู้สอนสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมุติขึ้นจากความเป็นจริง มาให้ผู้เรียนได้แสดงออกตามที่ผู้เรียนคิดว่าจะเป็น ผู้สอจะใช้การแสดงออกทั้งทางด้านความรู้ ความคิด และพฤติกรรมของผู้แสดงมาเป็นพื้นฐานในการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่ผู้เรียน อันจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาสาระของบทเรียนอย่างลึกซึ้ง และรู้จักปรับหรือเปลี่ยนพฤติกรรม และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

ความมุ่งหมาย

          1.เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในพฤติกรรมและความรู้สึกของผู้อื่น

          2.เพื่อให้ผู้เรียนได้ปรับหรือเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่เหมาะสม

          3.เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ความรู้ความคิดในการแก้ปัญหา และการตัดสินใจ

          4.เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงออก ได้เรียนด้วยความเพลิดเพลิน

          5.เพื่อให้การเรียนการสอนมีความใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น

ลักษณะของบทบาทสมมุติ

บทบาทสมมุติที่ผู้เรียนแสดงออกแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ                                             

                1. การแสดงบทบาทสมมุติแบบละคร  เป็นการแสดงบทบาทตามเรื่องราวที่มีอยู่แล้วผู้แสดงจะได้รับทราบเรื่องราวทั้งหมด  แต่จะไม่ได้รับบทที่กำหนดให้แสดงตามอย่างละเอียดผู้แสดงจะต้องแสดงออกตามความคิดของตน และดำเนินเรื่องไปตามท้องเรื่องที่กำหนดไว้แล้วซึ่งมีลักษณะเหมือนละคร

                2. การแสดงบทบาทสมมุติแบบแก้ปัญหา เป็นการแสดงบทบาทสมมุติที่ผู้เรียนได้รับทราบสถานการณ์หรือเรื่องราวแต่เพียงเล็กน้อยเท่าที่จำเป็น  ซึ่งมักเป็นสถานการณ์ที่เป็นปัญหาหรือมีความขัดแย้งแฝงอยู่ ผู้แสดงบทบาทจะใช้ความคิดของตนในการแสดงออกและแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างเสรี

               


26/1/56

การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา (CALL)


การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) 

    

           ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 
           คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Computer-Assisted Instruction ซึ่ง  ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์ป็นภาษาไทยว่า การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแต่คำศัพท์ดังกล่าวไม่เป็นที่นิยมใช้กัน โดยมักใช้คำว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนกันมากกว่า หรือที่เรียกย่อๆว่า CAI นอกจากคำว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแล้ว ยังมีคำศัพท์อีกหลายคำที่เกี่ยวข้องกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อการศึกษาแต่มีความหมายแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะของการนำมาใช้ได้แก่ 

-คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( CAI : Computer Assisted Leaning ) 
-คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนภาษา ( CALL : Computer Assisted Language Learning) 
-การสอนการอบรมที่อาศัยคอมพิวเตอร์( CBT :Computer Based Training Teaching ) 
-การเรียนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก (CBL: Computer Based Instruction Learning) 
-การสอนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ( CBI : Computer Based Instruction) 
-การใช้คอมพิวเตอร์จัดการในการสอน (CMI : Computer Managed Instruction )

          

          นักการศึกษาได้ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไว้ ดังต่อไปนี้ 


สุกรี รอดโพธิ์ทอง ( 2532:54 ) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนเนื้อหาหรือทบทวนวิชา โดยเฉพาะในแต่ละหน่วยของเนื้อหาวิชาจะบอกถึงวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดกิจกรรมและการประเมินผล มีการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ และเทคนิคการออกแบบการสอนแบบต่างๆเพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากที่สุด 


ฉลอง ทับศรี ( 2538:1 ) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เป็นบทเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวนำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียน ส่วนใหญ่มุ่งที่จะให้ผู้เรียนด้วยตนเองเป็นหลัก 
สุรางค์ โคว้ตระกูล ( 2536:237 ) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้เป็นรายบุคคล ใช้ในการทบทวนบทเรียนการทำแบบฝึกหัด การติวและการสร้างสถานการณ์จำลองช่วยในการสอนแก้ปัญหา 
ล็อคคาร์ด (1990:164) ได้กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์โดยตรงในการจัดการเรียนการสอนซึ่งเป็นสื่อสาร 2 ทิศทางกับคอมพิวเตอร์ในการตอบคำถามและการได้รับผลย้อนกลับในการตอบทันที 

          ประโยชน์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

1.ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ และมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนคอมพิวเตอร์ สามารถรับรู้ข้อมูลย้อนกลับได้ทันที
2.ผู้เรียนสามารถเรียนซ้ำได้ตามต้องการ
3.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยการนำเสนอภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง สามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้
4.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาที่เร็ว
5.ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้สูง เนื่องจากได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง
6.สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
7.ทำให้ครูมีเวลาในการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้มากขึ้น
8.ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเมืองและโรงเรียนชนบท
9.ประหยัดเวลาลังบประมาณในการจัดการเรียนการสอน
10.ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง แก้ปัญหาและฝึกคิดอย่างมีเหตุผล
         
           สรุป

          คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสอนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์นำเสนอเนื้อหาให้แก่ผู้เรียน มีปฏิสัมพันธ์และการโต้ตอบระหว่างผู้เรียน พร้อมทั้งส่งผลย้อนกลับได้ทันที มุ่งให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล 


การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา CALL
            (Computer-assisted language learning program)

ผ่าน บาลโพธิ์ (2539) อธิบายลักษณะของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา หรือ CALL (Computer-assisted language learning program) ไว้ว่า โปรแกรมช่วยเรียนภาษาเป็นชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนภาษามีลักษณะเหมือนกับโปรแกรมช่วยการสอน หรือ CAI คือ มีการเสนอเนื้อหาหรือเนื้อเรื่อง มีการถามการตอบ มีการแนะนำและอธิบายแต่จะกว้างกว่า CALL เพราะ CAI บอกให้ทราบว่าเป็นโปรแกรมช่วยการสอนเท่านั้น ส่วนจะสอนวิชาใดบ้างก็แล้วแต่ผู้สร้างโปรแกรม
แต่ CALL หมายถึงโปรแกรมช่วยเรียนภาษาโดยเฉพาะ ใช้ได้ทั้งกับการเรียนในห้องเรียน โดยมีผู้สอนเป็นผู้ควบคุมดูแลกระบวนการเรียน และการให้ผู้เรียนเรียนจากโปรแกรมด้วยตนเองที่ศูนย์การเรียนรู้ดวยตนเอง (Self-access learning center) หรือที่ศูนย์คอมพิวเตอร์และสำหรับสถานศึกษาทีมีความพร้อมก็อาจมอบแผ่นโปรแกรมให้ผู้เรียนนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์นอกสถานศึกษาโดยผ่านโมเด็มและสายโทรศัพท์

Computer-assisted language learning (CALL)

Computer-assisted language learning (CALL)  is succinctly defined in a seminal work by Levy (1997: p. 1) as "the search for and study of applications of the computer in language teaching and learning".[1] CALL embraces a wide range of ICT applications and approaches to teaching and learning foreign languages, from the "traditional" drill-and-practice programs that characterised CALL in the 1960s and 1970s to more recent manifestations of CALL, e.g. as used in a virtual learning environment and Web-based distance learning. It also extends to the use of corpora and concordancers, interactive whiteboards, Computer-mediated communication (CMC), language learning in virtual worlds, and Mobile-assisted language learning (MALL).
The term CALI (Computer-assisted language instruction) was in use before CALL, reflecting its origins as a subset of the general term CAI (Computer-assisted instruction). CALI fell out of favour among language teachers, however, as it appeared to imply a teacher-centred approach (instructional), whereas language teachers are more inclined to prefer a student-centred approach, focusing on learning rather than instruction. CALL began to replace CALI in the early 1980s (Davies & Higgins 1982: p. 3) and it is now incorporated into the names of the growing number of professional associations worldwide.
An alternative term, Technology-enhanced language learning (TELL), also emerged around the early 1990s: e.g. the TELL Consortium project, University of Hull.
The current philosophy of CALL puts a strong emphasis on student-centred materials that allow learners to work on their own. Such materials may be structured or unstructured, but they normally embody two important features: interactive learning and individualised learning. CALL is essentially a tool that helps teachers to facilitate the language learning process.
             It can be used to reinforce what has been already been learned in the classroom or as a remedial tool to help learners who require additional support.
The design of CALL materials generally takes into consideration principles of language pedagogy and methodology, which may be derived from different learning theories (e.g. behaviourist, cognitive, constructivist) and second language learning theories such as Stephen Krashen's monitor hypothesis.
 See Davies et al. (2011: Section 1.1, What is CALL?).[7] See also Levy & Hubbard (2005), who raise the question Why call CALL "CALL"?

Example of CALL Teaching Model


วิธีการสอนภาษาแบบบูรณาการภาษาและเนื้อหา (CLIL)



วิธีการสอนภาษาแบบบูรณาการภาษาและเนื้อหา (CLIL)


            แมคโกรอาที่ (Mcgroarty. 1998) กล่าวถึงความเป็นมาของวิธีสอนภาษาบบบูรณาการภาษาและเนื้อหาว่า วิธีสอนภาษาแบบบูรณาการภาษาและเนื้อหามีพื้นฐานแนวคิดมาจากการศึกษาสองภาษา (bilingual education) เป็นกระบวนการจัดการศึกษาที่ใช้สองภาษาเป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน
อย่างไรก็ตาม ผู้เรียนจะได้เรียนหนึ่งหรือสองภาษาขึ้นอยู่กับลักษณะของโปรแกรม ซึ่งการศึกษาสองภาษามีหลายโปรแกรม บางโปรแกรมไม่ได้ตั้งจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เฉพาะสองภาษาเท่านั้น เช่น ในสหรัฐอเมริกา ในพื้นที่ที่คนส่วนมากใช้ภาษาอังกฤษ การเรียนภาษาอังกฤษสำหรับผู้เรียนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมสองภาษาเพราะความมุ่งหมายของโปรแกรมคือ ใช้ภาษาอังกฤษในการพัฒนาทักษะภาษาวิชาการ ซึ่งผู้เรียนพัฒนาภาษาวิชาการได้ยากกว่าภาษาเพื่อการสื่อสาร
ดังนั้นผู้สอนจึงต้องจัดเตรียมกิจกรรมเป็นอย่างดี ด้วยเหตุผลนี้เองจึงจำเป็นต้องพัฒนาทั้งภาษาที่หนึ่งคือ ภาษาของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเพิ่มขีดความสามารถทางภาษาของตนเองมากขึ้น ก็จะทำให้ขีดวามสามารถในการใช้ภาษาที่สองมากขึ้นเช่นกัน


การสอนแบบบูรณาการ (CLIL)

เทคนิคการสอนแบบบูรณาการ เป็นการนำสาระการเรียนรู้ในวิชาที่สอนไปบูรณาการกับวิชาอื่นๆ Content and Language Integrated Learning ( CLIL)
บูรณาการ หมายถึงการทำให้สมบูรณ์ ซึ่งอาจจะขยายความเพิ่มเติมได้อีกว่าหมายถึงการทำให้หน่วยย่อย ๆ ที่สัมพันธ์อิงอาศัยกันเข้ามาร่วมทำหน้าที่อย่างประสานกลมกลืนเป็นองค์รวมหนึ่งเดียว ที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ในตัวเอง ( พระเทพเวที 2531 : 24 )
บูรณาการ หมายถึงการนำเอาศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ ( Integrated Curriculum ) คือหลักสูตรที่นำเอาเนื้อหาของวิชาต่าง ๆ มาหลอมรวมเข้าด้วยกันทำให้เอกลักษณ์ของแต่ละรายวิชาหมดไป เช่นเดียวกัน การเรียนการสอนที่ดำเนินการด้วยวิธีบูรณาการเราเรียกว่า การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ( Integrated  Instruction ) คือเน้นที่องค์รวมของเนื้อหามากกว่าองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชา  และเน้นที่การเรียนของผู้เรียนเป็นสำคัญยิ่งกว่าการบอกเนื้อหาของครู( สุวิทย์  มูลคำ และคณะ : 2543  )
  การจัดการเรียนการสอนแบบหน่วยเป็นการบูรณาการหลักสูตรประเภทหนึ่งที่เรียกว่าสหวิทยาการ ( Interdisciplinary ) วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบหน่วยมีคุณลักษณะสำคัญคือการตั้งหัวเรื่องที่น่าสนใจขึ้นมา แล้วนำความรู้จากวิชาการต่าง ๆ มาโยงสัมพันธ์กับหัวเรื่องนั้นเพื่อประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ความแตกต่างที่สำคัญที่จำแนกการจัดการเรียนการสอนออกจากหลักสูตรก็คือ การเรียนการสอนเน้นบูรณาการที่ระดับเนื้อหาวิชาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวพันกัน แต่หลักสูตรเน้นบูรณาการที่รายวิชาโดยตรงก่อนที่จะไปแยกกำหนดเป็นเรื่องที่จะจัดการเรียนการสอนต่อไป
วัฒนา  ระงับทุกข์  ได้ให้ความหมายของบูรณาการว่า การนำศาสตร์ต่างๆมาผสมผสานกันเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ชนาธิป  พรกุล  ได้ให้ความหมายของบูรณาการว่า การเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ทุกชนิด  ที่บรรจุอยู่ในแผนของหลักสูตร  เป็นการเชื่อมโยงแนวนอนระหว่างหัวข้อและเนื้อหาต่างๆที่เป็นความรู้ทั้ง 3 ด้าน  ได้แก่  พุทธิพิสัย  ทักษะพิสัย  และจิตพิสัย  การบูรณาการทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  และรู้ในเรื่องนั้นอย่างลึกซึ้ง  การบูรณาการความรู้เป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะในยุคที่มีความรู้ ข้อมูลข่าวสารมาก  จึงเกิดเป็นหลักสูตรที่เรียกว่า  หลักสูตรบูรณาการ  (Integrated  curricula)  ซึ่งพยายามสร้างหัวเรื่อง  (Themes)  ใน  โปรแกรมวิชาโดยนำความคิดหลักในวิชามาสัมพันธ์กัน  และสัมพันธ์กับวิชาอื่นด้วย            หลักสูตรแบบบูรณาการ (Integrated  Curricula)  เป็น หลักสูตรที่นำเอาศาสตร์สาขาวิชาต่างๆที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์สูงสุดในการจัดหลักสูตรและจัดการเรียน  ทำให้เอกลักษณ์ของแต่ละรายวิชาหมดไป  เกิดเป็นเอกลักษณ์ใหม่ของหลักสูตรโดยรวม ทำให้เกิดความรู้ที่มีความหมาย มีความหลากหลายและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
การเรียนการสอนแบบบูรณาการ (Integrated  Instruction)  เน้นที่องค์รวมของเนื้อหามากกว่าองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชาและเน้นที่การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญยิ่งกว่าการบอกเนื้อหาของครู

ลักษณะสำคัญของการบูรณาการ

             ผลการจัดหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ    ถ้าสามารถดำเนินได้อย่างสมบูรณ์แล้วก็ควรจะมีลักษณะโดยรวมดังต่อไปนี้ (ธำรง  บัวศรี :
2532 )
 1.เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้  เพราะในปัจจุบันนี้ปริมาณของความรู้มีมากขึ้นเป็นทวีคูณ  รวมทั้งมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นเป็นลำดับ  การเรียนการสอนด้วยวิธีการเดิม  อาทิ การบอกเล่า  การบรรยายและการท่องจำ  อาจจะไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้  ผู้เรียนควรจะเป็นผู้สำรวจความสนใจของตนเองว่าในองค์ความรู้หลายหลากนั้น  อะไรคือสิ่งที่ตนเองสนใจอย่างแท้จริง  ตนควรแสวงหาความรู้เพื่อตอบสนองความสนใจเหล่านั้นได้อย่างไร  เพียงใด  ด้วยกระบวนการเช่นไร  ซึ่งแน่นอนว่า กระบวนการเรียนการสอนลักษณะนี้ย่อมขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างบุคคล  (Individual  Differences)ไม่ใช่น้อย
 2.เป็นการบูรณาการระหว่างพัฒนาการความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ  นั่นคือให้ความสำคัญแก่  จิตพิสัย  คือเจตคติ  ค่านิยม ความสนใจ  และสุนทรียภาพ  แก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ด้วย  ไม่ใช่เน้นแต่เพียงองค์ความรู้หรือพุทธิพิสัยแต่เพียงอย่างเดียว  อันที่จริงการทำให้ผู้เรียนเกิดความซาบซึ้งขึ้นเสียก่อนที่จะได้ลงมือศึกษานั้น  นับได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งสำหรับจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียน
 3.บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำในข้อนี้ก็มีนัยแห่งความสำคัญและความสัมพันธ์เช่นเดียวกับที่ได้กล่าวไว้แล้วในข้อสอง  เพียงแต่เปลี่ยน  จิตพิสัยเป็นทักษะพิสัยเท่านั้น
 4.บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน  คือ การตระหนักถึงความสำคัญแห่งคุณภาพชีวิตของผู้เรียนว่าเมื่อได้ผ่านกระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว  สิ่งที่เรียนที่สอนในห้องเรียนจะต้องมีความหมายและมีคุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง
 5.บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ  เพื่อให้เกิด  ความรู้  เจตคติและการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง  ตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียนแต่ละคน  การบูรณาการความรู้ของวิชาต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อตอบสนองความต้องการหรือเพื่อตอบปัญหาที่ผู้เรียนสนใจจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ควรจะกระทำในขั้นตอนของบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง

ทำไมต้องบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอน
 เหตุผลสนับสนุนการบูรณาการ
1.การขยายตัวของความรู้  มีเรื่องที่จำเป็นต้องเพิ่มเข้ามาในหลักสูตรมากมาย  เช่น  เอดส์ เพศศึกษา  สิ่งแวดล้อม  จึงจำเป็นต้องหาทางเลือกสาระให้ผู้เรียนเรียนในเวลาที่เท่าเดิม
2.หลักสูตรปัจจุบันไม่เหมือนชีวิตจริงเพราะเรียนเป็นช่วง  โรงเรียนต้องแสดงให้เห็นว่าแต่ละวิชาอิทธิพลต่อผู้เรียนอย่างไร  เขาควรต้องเห็นความสำคัญของทุกวิชาที่ถูกจัดเชื่อมโยงกันไว้
3.ปัจจุบันเราไม่อาจฝึกคนให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะไม่ได้  จะต้องฝึกให้ผู้เรียนสามารถบูรณาการสิ่งที่เรียนกับชีวิตในโลกกว้างได้  (Jacobs, 1989 : 3-4)
นอกจากนี้ยังมีเหตุผลสนับสนุนการบูรณาการอย่างน้อยอีก
2 ประการคือ
 1.ไม่มีหลักสูตรวิชาใดเพียงวิชาเดียวที่สำเร็จรูปและสามารถนำไปแก้ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง
 2.วิชาการหรือแนวคิดต่างๆที่ใกล้เคียงกันหรือเกี่ยวข้องกันควรนำมาเชื่อมโยงกันเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมาย (เพราพรรณ  โกมลมาลย์ , 2541 : 66)

             เนื่องจากวิถีชีวิตจริงของคนเรามีเรื่องราวต่าง ๆ ที่มีความหมายสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ไม่ได้
แยกออกจากกันเป็นเรื่อง ๆ ดังนั้น (สุวิทย์ มูลคำ  และคณะ : 2543 )
 1.ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีขึ้นและเรียนรู้อย่างมีความหมายเมื่อมีการบูรณาการเข้ากับชีวิตจริง  โดยการเรียนรู้ในสิ่งที่ใกล้ตัวแล้วขยายกว้างไกลตัวออกไป
 2.การขยายตัวของความรู้ในปัจจุบัน ขยายไปอย่างรวดเร็วมากมีเรื่องใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมากมาย จึงจำเป็นที่จะต้องเลือกสาระที่สำคัญและจำเป็นให้ผู้เรียนในเวลาที่มีเท่าเดิม
 3.ไม่มีหลักสูตรวิชาใดเพียงวิชาเดียวที่สำเร็จรูป และสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงได้
 4.เนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกันหรือเกี่ยวข้องกันควรนำมาเชื่อมโยงกันเพื่อให้ผู้เรียนรู้อย่างมีความหมาย ลดความซ้ำซ้อนเชิงเนื้อหาวิชา ลดเวลา แบ่งเบาภาระของครูผู้สอน
 5.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ ความคิด ความสามารถและทักษะที่หลากหลาย

             ประเภทของการบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอน
 เราสามารถบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนได้เป็นสองแบบ( สุวิทย์ มูลคำ อ้างถึงUNESCO – UNEP, 1994 : 51 )

             1.
การบูรณาการแบบสหวิทยาการ 
( Interdisciplinary )
 เป็นการสร้างหัวเรื่อง ( Theme) ขึ้นมาแล้วนำเนื้อหาจากวิชาต่าง ๆ มาโยงสัมพันธ์กับหัวเรื่องนั้น ซึ่งบางครั้งก็อาจเรียกวิธีบูรณาการแบบนี้ได้ว่า สหวิทยาการแบบมีหัวข้อ ( Themetic Interdisciplinary Studies) หรือบูรณาการที่เน้นการนำไปใช้เป็นหลัก( Application – First Approach )
 การกำหนดหัวเรื่อง ( Theme ) ได้แก่ การสร้างหัวเรื่องโดยมีหลักในการกำหนดหัวเรื่องดังนี้
 1.เป็นเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ และมีโอกาสได้เลือกเรียน
 2.เป็นเรื่องที่สามารถโยงความสัมพันธ์ได้หลายวิชาหรือหลายกลุ่มประสบการณ์
 3.เป็นเรื่องที่นักเรียนมีประสบการณ์เดิมอยู่แล้วและสอดคล้องกับชีวิตจริง และมีความหมายต่อผู้เรียน
 4.เป็นเรื่องที่มีแหล่งความรู้ให้ผู้เรียนรู้ได้ศึกษาค้นคิดอย่างหลากหลาย และเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับท้องถิ่นกับความรู้ที่เป็นสากล
 5.เป็นเรื่องที่เหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้เรียนและส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนรอบด้าน  การตั้งชื่อต้องทันสมัย และน่าสนใจยั่วยุให้ผู้เรียนอยากรู้ อยากเรียน

 2.การบูรณาการแบบพหุวิทยาการ (Multidisciplinary )
 เป็นการนำเรื่องที่ต้องการจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สอดแทรก ( Infusion ) ไว้ในวิชาต่าง ๆ หรือบูรณาการเน้นเนื้อหาของวิชาเป็นแกนแล้วนำสิ่งที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนเกิดไปสอดแทรกในวิชาแกนดังกล่าวซึ่งบางครั้งเราก็อาจจะเรียกวิธีบูรณาการแบบนี้ได้ว่า การบูรณาการที่เน้นเนื้อหารายวิชาเป็นหลัก ( Discipline First Approach ) 

กรมวิชาการได้แบ่งการบูรณาการหลักสูตรและการสอนเป็น 4 แบบดังนี้

1.การบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว
ครูสอนสามารถจัดการเรียนรู้โดยเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ กับหัวเรื่องที่สอดคล้องกับชีวิตจริง หรือสาระที่กำหนดขึ้นมา เช่น เรื่องสิ่งแวดล้อม น้ำ เป็นต้น ครูผู้สอนสามารถเชื่อมโยงสาระ และกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มสาระต่าง ๆเช่น   การอ่าน   การเขียน   การคิด   คำนวณ  การคิดวิเคราะห์ต่าง ๆ ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะ และกระบวนการเรียนรู้ไปแสวงหาความรู้   ความจริงจากหัวข้อเรื่องที่กำหนด              

2.การบูรณาการแบบคู่ขนาน
มีครูผู้สอนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป จัดการสอนโดยอาจยึดหัวข้อเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง   แล้วบูรณาการเชื่อมโยงแบบคู่ขนาน เช่น ครูผู้สอนคนหนึ่งสอนวิทยาศาสตร์เรื่องเงา ครูผู้สอนอีกคนอาจสอนคณิตศาสตร์เรื่องการวัดระยะทาง โดยการวัดเงา คิดคำนวณในเรื่องเงา ในช่วงเวลาต่าง ๆ จัดการทำกราฟของเงาในระยะต่าง ๆ   หรืออีกคนหนึ่งอาจให้ ผู้เรียนรู้ศิลปะ   เรื่องเทคนิค  การวาดรูปที่มีเงา

           3.
การบูรณาการแบบสหวิทยาการ           การบูรณาการในลักษณะนี้นำเนื้อหาจากหลายกลุ่มสาระมาเชื่อมโยงเพื่อจัดการเรียนรู้ซึ่งโดยทั่วไปผู้สอนมักจัดการเรียนการสอนแยกตามรายวิชา หรือกลุ่มวิชา แต่ในบางเรื่องครูผู้สอน  จัดการเรียนการสอนร่วมกันในเรื่องเดียวกัน เช่น เรื่องวันสิ่งแวดล้อมของชาติ   ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนรู้ภาษาคำศัพท์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ผู้สอนวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ผู้สอนสังคมศึกษาให้ผู้เรียนค้นคว้าหรือทำกิจกรรมชมรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม    และครูผู้สอนสุขศึกษาอาจจัดทำกิจกรรมเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะเป็นต้น          
4.การบูรณาการแบบโครงการ
ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการเป็นโครงการโดยผู้เรียนและครูผู้สอน ร่วมกันสร้างสรรค์โครงการขึ้น   โดยใช้เวลาการเรียนต่อเนื่องกันในหลายชั่วโมงด้วยการนำเอาจำนวนชั่วโมงของวิชาต่าง ๆ ที่ครูผู้สอนเคยสอนแยกกัน ในลักษณะของการสอนเป็นทีม ในกรณีที่ต้องการเน้นทักษะบางเรื่องเป็นพิเศษครูผู้สอนสามารถแยกการสอนได้  เช่น   กิจกรรมเข้าค่ายดนตรี  กิจกรรมเข้าค่ายภาษาอังกฤษ  กิจกรรมเข้าค่ายศิลปะ เป็นต้น

Example of CLIL Teaching Model